
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Nephelium lappaceum
เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อน คนไทยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "เงาะ" เพราะลักษณะภายนอกของผล มีขนขึ้นตามเปลือกคล้ายกับผมบนหัวของคนป้าที่มีผมหยิกหยอยที่เราเรียกกว่า "เงาะซาไก" มีชื่อสามัญว่า Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum L. เงาะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายูทางเขตที่ราบตะวันตก จากนั้นจึงแพร่ขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเขตร้นอื่น ๆ เช่น ศรีลังกา และไปไกลถึงเกาะซานซิบาร์ ทวีปแอฟริกา ชาวมลายูเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "rambut" ซึ่งหมายถึง "ผมหรือขน" ต่อมามีการเรียกเพี้ยนไปเป็น "rambutan" แต่ก่อนฝรั่งเห็นเงาะก็บอกว่า "ประหลาดมาก" จึงเปรียบเป็น "เชอร์รีมีขน" เงาะจากมลายูถูกน้ำเข้ามาปลูกทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่เมื่อใด
• เงาะเป็นพืชยืนต้นในวงศ์ Sapindaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับลิ่นจี่และลางสาด ลำต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เปลือกสีเทาแก่ปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่ยอ 2-4 คู่ ใบเขียวเป็นมัน ออกดอกสีเหลืองตามกิ่งหรือยอด ผลเงาะมีทั้งผลกลมแบน และยาวแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-5 ซม. เปลือกนอกหนา มีขนอยู่รอบผล ขนเป็นสีเหลือง แดง หรือชมพู เปลือกล่อนจากเนื้อ เนื้อเงาะสีขาวหรือนวลใสหุ้มเมล็ด รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์
• เงาะในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ สามารถแยกประเภทได้ 3 ประเภท คือ พันธุ์ดั้งเดิม เช่น พันธุ์อากร สีนาก เจ๊ะหมง เปเรก นังเบอร์ลี ตาวี ซงลังงอร์ ฯลฯ พันปรับปรุง เช่น พลิ้ว1 พลิ้ว2 และเงาะพันธุ์ที่นิยมปลูกบริโภคซึ่งมีหลายพันธุ์เช่นกัน ดังนี้
o พันธุ์โรงเรียน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ลักษณะผลเมื่อแก่จัดเปลือกเป็นสีแดงสวย แต่ที่ปลายขนยังมีสีเขียว เป็นเงานยอดนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีรสชาติหวาน เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด เปลือเมล็ดบางไม่แข็ง
ความเป็นมาของเงาะโรงเรียน เริ่มจากชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนชื่อ นาย เค§ หว่อง อาชีพทำเหมืองแร่ดีบุกเป็นผุ้นำเมล็ดพันธุ์จากปีนังเข้ามาปลูกที่บริเวณบ้าน พักในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2469 ต่อมาเลิกกิจการเหมืองแร่และได้ขายบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการหรือกระทรวง ศึกษาธิการในปัจจุบัน ทางราชการจึงปรับปรุงบ้านพักเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารมาอยู่ที่นี่เมื่อ พ.ศ. 2479 ต้นเงาะที่อยู่ติดโรงเรียนนี้ขยายพันธุ์จนกลายเป็นที่นิยมบริโภคกันมาก จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "เงาะโรงเรียน"
o พันธุ์สีชมพู เป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่เกิดในจังหวัดจันทบุรี เมื่อสุกจะมีสีชมพู ไม่แดงจัด มีขนยาว เปลือกหนาเนื้อเหนียว ไม่ล่อน รสหวาน ปลูกมาในภาคตะวันออกมีข้อเสียคือ เก็บได้ไม่นาน เนื้อเป้นน้ำและขนอ่อนช้ำง่าย
o พันธุ์สีทอง เป็นพันธุ์ดังเดิม มีปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางจะนำมาขายปนกับเงาะโรงเรียน เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกัน ลักษณะเด่นคือผลใหญ่มาก ขนยาวสีแดง ปลายมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีขาวค่อนข้างใส เมล็ดค่อนข้างแบนสีขาวปนน้ำตาล เมื่อเก็บจากต้นใหม่ ๆ จะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าทิ้งไว้ 1-2 คืน จะมีรสหวานแหลมขึ้นและมีกลิ่นหอม
o พันธุ์น้ำตาลกรวด เป็นเงาะพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์บางยี่ขันและพันธุ์โรงเรียน ผลมีลักษณะคล้ายเงาะโรงเรียนเมื่อเริ่มสุกผลจะมีสีเหลืองเข้ม โคนขนสีชมพุและส่วนปลายขนมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อสุกเต็มที่ดคนขนจะขยายห่างกัน เปลือกผลค่อนข้างหนา เนื้อสีขาวขุ่น เมื่อห่ามมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานแหลม กลิ่นหอม เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด และมีเปลือกเมล็ดติดเนื้อค่อนข้างมาก เมล็ดแบนค่อนข้างกว้างและสั้นมีสีขาวอมเหลืองคล้ายงาช้าง
• เงาะที่ปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออกจะออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน เงาะจากภาคตะวันออกจะออกสุ่ตลาดประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ส่วนเงาะจากภาคใต้ออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน แหล่งปลูกเงาะที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และสุราษฎร์ธานี
• เงาะเป็นผลไม้กินสด นำมาคว้านเมล็ดออก เสิร์ฟสดก็ได้หรือนำไปทำเป็นเงาะลอยแก้ว หรือแปรรูปเป็นเงาะบรรจุกระป๋อง
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวาน มีฤทธิ์อุ่น ไม่มีพิษ เงาะอุดมด้วยวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ใยอาหาร(Fiber) ช่วยในการป้องกันโรคหวัด มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง นอกจากนี้เงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ผลดี ถ้านำเปลือกมาต้มกินน้ำใช้เป็นยาแก้อักเสบได้ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ เม็ดของเงาะไม่ควรจะรับประทาน เพราะมีพิษ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน
แหล่งที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521010235/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0.html

1. ชนิดพืช มังคุด ชื่อพันธุ์ พื้นเมือง (Native variety)
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana, L. ชื่อสามัญ Mangosteen
3. แหล่งที่มาและประวัติ
มังคุดเป็นไม้ป่าในหมู่เกาะซันดา (Sunda Islands) ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ แถบมลายู (Malay archipelago) แต่ปัจจุบันมีการนำมาปลูกทั่วไปในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกฟิลิปปินส์ตอนใต้ พม่า มาเลเซีย ไทย อินเดียตะวันตกเฉียงใต้ และศรีลังกา นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกันบ้างในแถบศูนย์สูตร ของอเมริกา
มังคุดจะนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไรไม่ปรากฏ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฝั่ง- ธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ บัดนี้ เดิมเรียกว่า วังสวนมังคุด สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผลไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของฑูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 212 ปีมานี้ เมื่อคณะฑูตมาถึงธนบุรี ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุด มะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะฑูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา
มังคุดจึงเป็นต้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana, L. ชื่อสามัญ Mangosteen
3. แหล่งที่มาและประวัติ
มังคุดเป็นไม้ป่าในหมู่เกาะซันดา (Sunda Islands) ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ แถบมลายู (Malay archipelago) แต่ปัจจุบันมีการนำมาปลูกทั่วไปในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกฟิลิปปินส์ตอนใต้ พม่า มาเลเซีย ไทย อินเดียตะวันตกเฉียงใต้ และศรีลังกา นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกันบ้างในแถบศูนย์สูตร ของอเมริกา
มังคุดจะนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไรไม่ปรากฏ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฝั่ง- ธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ บัดนี้ เดิมเรียกว่า วังสวนมังคุด สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผลไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของฑูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 212 ปีมานี้ เมื่อคณะฑูตมาถึงธนบุรี ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุด มะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะฑูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา
มังคุดจึงเป็นต้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้
4. ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤษศาสตร์ 4.1 ชนิด มังคุด
4.2 ประเภท ไม้ผลเมืองร้อน
4.3 ราก มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีระบบรากเป็นรากแก้ว เกิดจากเมล็ด จะหยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ต่อจากลำต้น รากแก้วจะชอนไชไปในดินได้ลึก จะงอและขดได้ง่าย เมื่อเลี้ยงไว้ในวัสดุเพาะชำเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ย้ายปลูกลงดิน แต่เมื่อตัดส่วนที่ขดงอออกจะมีรากใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้ โดยแตกออกเป็นหลายราก แล้วเจริญคู่กันไปกับรากเดิมดูเหมือนกับรากแก้ว จะมีบ้างเพียง 1-2 รากที่เป็นรากเล็ก และสั้นคล้ายรากฝอย มังคุด นับว่ามีการพัฒนาของระบบราก ที่จะเจริญแผ่ไปในทางแนวราบในพื้นดินได้น้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมังคุดมีความสามารถพิเศษที่จะสร้างรากแขนงให้เจริญออกจากโคน ต้น ชิดกับพื้นดินได้ ในต้นที่ปลูกจนโตและเริ่มเป็นพุ่มแล้ว รากแขนงที่เกิดใหม่นี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรากที่ค่อนข้างอวบ สีขาวอมเหลือง จะเจริญแผ่ออกจากโคน-ต้น และค่อยๆ แทงลึกลงไปในดิน เพื่อช่วยยึดลำต้นให้แข็งแรงไม่โค่นล้ม ทั้งยังช่วยหาอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมดุลกับส่วนทรงพุ่มที่ เจริญขึ้น
4.2 ประเภท ไม้ผลเมืองร้อน
4.3 ราก มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีระบบรากเป็นรากแก้ว เกิดจากเมล็ด จะหยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ต่อจากลำต้น รากแก้วจะชอนไชไปในดินได้ลึก จะงอและขดได้ง่าย เมื่อเลี้ยงไว้ในวัสดุเพาะชำเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ย้ายปลูกลงดิน แต่เมื่อตัดส่วนที่ขดงอออกจะมีรากใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้ โดยแตกออกเป็นหลายราก แล้วเจริญคู่กันไปกับรากเดิมดูเหมือนกับรากแก้ว จะมีบ้างเพียง 1-2 รากที่เป็นรากเล็ก และสั้นคล้ายรากฝอย มังคุด นับว่ามีการพัฒนาของระบบราก ที่จะเจริญแผ่ไปในทางแนวราบในพื้นดินได้น้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมังคุดมีความสามารถพิเศษที่จะสร้างรากแขนงให้เจริญออกจากโคน ต้น ชิดกับพื้นดินได้ ในต้นที่ปลูกจนโตและเริ่มเป็นพุ่มแล้ว รากแขนงที่เกิดใหม่นี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรากที่ค่อนข้างอวบ สีขาวอมเหลือง จะเจริญแผ่ออกจากโคน-ต้น และค่อยๆ แทงลึกลงไปในดิน เพื่อช่วยยึดลำต้นให้แข็งแรงไม่โค่นล้ม ทั้งยังช่วยหาอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมดุลกับส่วนทรงพุ่มที่ เจริญขึ้น
4.4 ต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงประมาณ 10 - 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 25 - 30 เซ็นติเมตร เปลือกสีดำ มียางเหนียวข้นสีเหลืองอมเขียว ทรงพุ่มแบบ
Pyramidal crown หรือ conical shape ต้นเรียบทรงต้นงามเป็นระเบียบ กิ่งใบหนา ทำมุมฉากกับลำต้น
Pyramidal crown หรือ conical shape ต้นเรียบทรงต้นงามเป็นระเบียบ กิ่งใบหนา ทำมุมฉากกับลำต้น
4.5 ใบ ใบมังคุดเป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) เกิดแบบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือแบบ ternate ก้านใบสั้น ใบเป็นแบบ Ovate-elliptic-oblong ฐานใบเป็นแบบ acute, obtuse หรือ rounded ปลายใบแบบ obtuse และ acuminate ขอบใบเรียบ ใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้ม หรือเขียวแกม-เหลือง และเป็นมัน ส่วนใต้ใบเป็นสีเขียวแกมเหลืองไม่เป็นมัน ผิวใบเรียบ ยาว 12-23 เซ็นติเมตร กว้าง 4.5 - 10 เซ็นติเมตร เส้นใบแบบ pinnate เส้นกลางใบเห็นชัดเจน กลมนูนทางด้านหลังใบ และเป็นสันทางด้านใต้ใบ เส้นใบออกจากเส้นกลางใบแล้วค่อยๆ ลู่เข้าหาขอบใบ มีประมาณ 35 - 50 คู่ ก้านใบสั้น มองเห็นเป็นชั้นๆ ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซ็นติเมตร มีตาข้าง (axillary bud) อยู่ที่โคนก้านใบทุกใบ ส่วนตายอด (terminal bud) อยู่ที่โคนก้านใบคู่สุดท้าย
4.6 ดอก เป็น unisexual-dioecious หรือ polygamous อย่างไรก็ตาม Baker (1911) ได้ รายงานว่า พบดอกตัวเมีย (female flower) เฉพาะในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น ดอกตัวผู้ (male flower) เกิดที่ปลายกิ่งเป็นกลุ่มดอก มีประมาณ 3-9 ดอก ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นรูปถ้วย และมีขนาดกว้าง มี 4 อัน กลีบดอกมี 4 กลีบ อวบ, หนา แบบ ovate ด้านในสีแดงแกมเหลือง ด้านนอกสีค่อนข้างเขียว และมีประสีแดง เกสรตัวผู้มีมากมายอยู่บนกลีบดอก ด้านล่างติดกับส่วนโคนของรังไข่ (rudimentary ovary) ก้านเกสรตัวผู้สั้น อับละอองเกสรแบบ Ovoid - oblong และ โค้งกลับ ส่วน rudimentary ovary หนา ลักษณะ obconial และยาวกว่าอับละอองเกสรเล็กน้อย ดอก- ตัวเมีย (female flower) หรือ ดอกสมบูรณ์เพศ(hermaphrodite flewer) มักเกิดที่ปลายกิ่ง ลักษณะของกลีบเลี้ยง และกลีบดอกคล้ายคลึงกับดอกตัวผู้ เกิดเป็นดอกเดี่ยว (Solitary) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 6.2 เซ็นติเมตร ก้านดอกสั้น หนา เป็นรูปเหลี่ยม มีความยาว 1.8 - 2 เซ็นติเมตร หนา 0.7 - 0.9 เซ็นติเมตร กลีบเลี้ยง (sepal) มี 4 กลีบ ซ้อนกัน 2 ชั้น (biserite) ชั้นใน 1 คู่ หุ้มปิดไว้ และถูกหุ้มด้วยชั้นนอกอีก 1 คู่ ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวแกมเหลือง เป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม มน ชั้นในมีขนาดเล็กกว่า และมีีขอบกลีบ สีแดง กลีบดอก (petal) มี 4 กลีบ รูป obovate มีขนาดกว้างมาก กลมมน อวบหนา สีเขียวแกมเหลือง ขอบกลีบสีแดง หรือเกือบจะเป็นสีแดงตลอดทั้งกลีบ ขนาดประมาณ 2.5 – 3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้เป็นหมัน (staminode) อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาจมีมากหรือน้อยกว่า 1-3 อัน อาจยึดติดหรือไม่ยึดกับส่วนโคนของรังไข่ ยาว 0.5 - 0.6 เซ็นติเมตร อับละอองเกสรมีขนาดเล็ก และเป็นหมัน รังไข่ ไม่มีก้าน (sessile) แอ่งเกสรตัวเมีย (stigma) แบ่งเป็นแฉกประมาณ 4-8 แฉก เท่ากับจำนวนช่องในรังไข่
4.7 ผล เป็นแบบ berry เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 3.5 - 7 เซ็นติเมตร หรือมากกว่า เมื่อสุกจะมีสีม่วงเข้มหรือม่วงแกมน้ำตาล เปลือกหนาประมาณ 0.8-1 เซ็ตติเมตร มีรสฝาดและมียาง สีเหลือง ผลจัดเป็นแบบ aril fruit เนื้อเกิดจาก integument ภายในผลแบ่งเป็น 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดภายในหุ้มด้วยเนื้อสีขาวใสอ่อนนุ่มคล้ายวุ้น มีเส้น Vain สีชมพูติดอยู่ เนื้อมีสีน้ำตาลประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย Sacharase, dextrose และ levulose มีกรดและสารอื่นๆ ประกอบ ทำให้มีกลิ่น และรสน่ารับประทาน การเรียงตัวของกลีบคล้ายกับการเรียงตัวของกลีบส้ม ในแต่ละผลจะมีเมล็ดที่เจริญสมบูรณ์ 1-3 เมล็ดเท่านั้น ที่เหลือมักลีบไป ค่าเฉลี่ยเมล็ดที่สมบูรณ์ของมังคุดประมาณ 1.6 เมล็ด สำหรับผลมีน้ำหนัก 54.5-79.5 กรัม หรือมากกว่า ผลหนึ่งๆ มีเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ มังคุดต้นหนึ่งๆ จะออกผลอย่างน้อย 100 ผล และมากกว่า 500-600 ผล ในประเทศศรีลังกา มังคุดสุกปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนมกราคม ครั้งหลังในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในตรินิแดด ให้ผลในราวเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
4.8 เมล็ด รูปร่างคล้ายเปลือกหอย มี 2 ฝา เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลบางใส ผิวเมล็ดขรุขระ มีร่องเริ่มจาก Hilum มาจนสุดเมล็ด แตกได้ง่าย มีอายุการเก็บสั้น และความแข็งแรงของเมล็ดที่ Hume กล่าวว่า การกระจายของมังคุดไปยังถิ่นต่างๆ ถูกจำกัด เนื่องจาก อายุของเมล็ดสั้นมาก เมล็ดที่อยู่ในผลจะมีอายุได้ 3-5 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่นอกผลโดยไม่เก็บไว้ในที่ชื้นจะมีอายุได้เพียง 2-3 วัน เท่านั้น ที่จริงแล้วเมล็ดมังคุดไม่ใช่เมล็ดที่แท้จริง เป็นเพียงส่วนที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเพศเมีย (female tissue) เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทั้ง embryo และ cotyledous เชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว แต่อาจมีการผันแปรบ้าง เช่นพันธุ์ที่ให้ผลสุกช้ากว่าทั่วไป ซึ่งเป็นรายงานจากพม่า และอีกพันธุ์หนึ่งมีกรด มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นรายงานของชวา แต่การผันแปรเช่นนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเมล็ดที่ใช้ในการขยายพันธุ์นั้นเป็นส่วนที่เจริญ โดยไม่มีการผสมและเป็น polyembryony ต้นกล้าที่ได้ ซึ่งไม่ได้มาจาก Zygote แต่เป็น nucellar seedling ซึ่งตรงตามพันธุ์ของต้นแม่ ในประเทศไทย นิวัฒน์ พ้นชั่ว เกษตรกรสวนมังคุดกล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาอย่างใกล้ชิดแล้ว สามารถแบ่งมังคุดเป็น 2 พวก คือ มังคุดเมืองนนท์ และมังคุดปักษ์ใต้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ มังคุดเมืองนนท์ ใบมีลักษณะเรียว ผลเล็ก ขั้วผลเล็ก และยาว เปลือกบาง กลีบที่ปลายขั้วมีสีแดง ผลสุกมีสีม่วงดำ และมังคุดปักษ์ใต้ ใบลักษณะอ้วนป้อม ผลใหญ่ ขั้วผล-สั้น เปลือกหนา กลีบที่ปลายขั้วสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงอมชมพู และผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้ช้ากว่า มังคุดเมืองนนท์
5. ลักษณะทางการเกษตร
ผลผลิตมังคุดจะเริ่มให้ผลในปีที่ 7 ซึ่งผลผลิตต่อต้นในระยะแรกจะต่ำ และสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมังคุดมีอายุ 13 -20 ปี จะเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตต่อต้นสูงสุด โดยเฉลี่ย ไร่ละ 949 กิโลกรัม ปลูก 16 ต้น/ไร่
คุณภาพการกำหนดขนาดผลมังคุดเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.มังคุด เกรด 1 มีขนาดผล ตั้งแต่ 8-12 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
2.มังคุด เกรด 2 มีขนาดผล ตั้งแต่ 13-18 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
3.มังคุดเกรดเล็กมีขนาดผล ตั้งแต่ 19 ผลขึ้นไปต่อ 1 กิโลกรัม
1.มังคุด เกรด 1 มีขนาดผล ตั้งแต่ 8-12 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
2.มังคุด เกรด 2 มีขนาดผล ตั้งแต่ 13-18 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
3.มังคุดเกรดเล็กมีขนาดผล ตั้งแต่ 19 ผลขึ้นไปต่อ 1 กิโลกรัม
หรือมีการแบ่งขนาดมังคุด ได้อีกลักษณะหนึ่ง คือ
เกรด เอ มีน้ำหนักมากกว่า 100 กรัมต่อผล
เอ๊กซ์ตร้า (Extra) มีน้ำหนัก 75-100 กรัมต่อผล
เกรดบี จะมีน้ำหนักต่ำกว่า 75 กรัมต่อผล
เกรด เอ มีน้ำหนักมากกว่า 100 กรัมต่อผล
เอ๊กซ์ตร้า (Extra) มีน้ำหนัก 75-100 กรัมต่อผล
เกรดบี จะมีน้ำหนักต่ำกว่า 75 กรัมต่อผล
สำหรับคุณภาพของมังคุดที่ผลิดได้ในปัจจุบัน โดยทั่วๆ ไป มีลักษณะ ดังนี้
1.ผลมีขนาดเล็กเกินไป คือ มีขนาด 13-18 ผลต่อ 1 กิโลกรัม หรือเล็กกว่านี้ เหมาะสำหรับการบริโภคภายในประเทศเพราะมีเมล็ดน้อย
2.ผิวของผลกร้าน มีร่องรอยการทำลายของแมลง เช่น เพลี้ยไฟ และไรแดง
3.ที่กลีบบริเวณขั้วผลจะมีแมลงเกาะอาศัยอยู่ เช่น มดดำ เพลี้ยแป้ง และก่อให้เกิดราดำที่ผล
4.ผิวของผลแตก มียางไหล
5.มีอาการเนื้อภายในผลช้ำ เป็นเนื้อแก้ว
6.เปลือกแข็ง และภายในเน่าเสีย
1.ผลมีขนาดเล็กเกินไป คือ มีขนาด 13-18 ผลต่อ 1 กิโลกรัม หรือเล็กกว่านี้ เหมาะสำหรับการบริโภคภายในประเทศเพราะมีเมล็ดน้อย
2.ผิวของผลกร้าน มีร่องรอยการทำลายของแมลง เช่น เพลี้ยไฟ และไรแดง
3.ที่กลีบบริเวณขั้วผลจะมีแมลงเกาะอาศัยอยู่ เช่น มดดำ เพลี้ยแป้ง และก่อให้เกิดราดำที่ผล
4.ผิวของผลแตก มียางไหล
5.มีอาการเนื้อภายในผลช้ำ เป็นเนื้อแก้ว
6.เปลือกแข็ง และภายในเน่าเสีย
คุณภาพมังคุดที่ตลาดต่างประเทศต้องการ
1.ผลขนาดใหญ่ มีขนาดของผลตั้งแต่ 100 กรัมขึ้นไป ประมาณ 8-10 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
2.ผิวของผลสะอาดไม่มีร่องรอยของการทำลายด้วยโรคและแมลงมีผิวนวลตามธรรมชาติ
3.เปลือกของผลมีความหนาปานกลาง ไม่แข็ง เนื้อภายใน มีสีขาวน่ารับประทาน
4.ไม่มีอาการยางไหลที่เปลือก
5.ไม่มีอาการเนื้อแก้ว หรือเนื้อเน่าช้ำ
1.ผลขนาดใหญ่ มีขนาดของผลตั้งแต่ 100 กรัมขึ้นไป ประมาณ 8-10 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
2.ผิวของผลสะอาดไม่มีร่องรอยของการทำลายด้วยโรคและแมลงมีผิวนวลตามธรรมชาติ
3.เปลือกของผลมีความหนาปานกลาง ไม่แข็ง เนื้อภายใน มีสีขาวน่ารับประทาน
4.ไม่มีอาการยางไหลที่เปลือก
5.ไม่มีอาการเนื้อแก้ว หรือเนื้อเน่าช้ำ
6. ลักษณะอื่นๆ
มังคุดมีอายุตั้งแต่ออกดอกถึง ดอกบานเฉลี่ย 31.16 วัน และมีอายุตั้งแต่ออกดอกถึงผลสุก เฉลี่ย 109.6 วัน หรือเริ่มติดผลจนกว่าแก่เก็บได้ ใช้เวลาประมาณ 11-12 สัปดาห์ (เริ่มมีสายเลือดได้ 1-2 วัน เหมาะสมที่สุด) การที่จะเก็บมังคุดไว้ได้นานเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความแก่ของมังคุดที่เก็บมา และสภาพแวดล้อมด้วยปกติหากเก็บมังคุด ในสภาพอุณหภูมิห้องธรรมดา หลังจากผลดำแล้ว จะเก็บไว้ได้ประมาณ 7 วัน จะเริ่มเน่า การเก็บผลมังคุดไว้ ต้องเก็บไว้ในที่อุณหภูมิห้องที่สูงกว่า 12 ํC ขึ้นไป และมีความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม อยู่ที่ 90-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเก็บมังคุดที่มีสีดำไว้ได้ประมาณ 14 วัน นอกจากนั้นการเก็บผลไม้ไว้ในที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง มีอ๊อกซิเจนต่ำ จะช่วยให้เก็บผลไม้ได้นาน ยิ่งขึ้น อุณหภูมิขณะขนส่งที่ได้ผลดีที่สุด คือ 13.3 ํC และสามารถเก็บรักษามังคุดสดที่อุณหภูมิห้อง
(25-30 ํC) สามารถเก็บได้นาน 5-7 วัน
C.T.DU และ F.J FRANCIS (1667) กล่าวถึงมังคุดว่า เป็น ไม้ผลเขตร้อนที่มีชื่อเสียงมากในแถบอินดิสตะวันออก รูปร่างผลค่อนข้างกลม สีม่วงออกน้ำตาล ขนาดผล เท่าผลแอปเปิ้ล ขนาดเล็ก มีเปลือกพาดหุ้มพูรังไข่ (locule) สีขาวเรียงตัวคล้ายส้ม เป็นส่วนที่รับประทานได้ มีรสหวาน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้มังคุด ได้ชื่อว่า "ราชินีของผลไม้ ในเขตร้อน" ซึ่งเป็นแหล่งปลูกของมังคุด รสชาติของมังคุดจะคล้ายรสชาติของท้อ และสับปะรด หรืออาจกล่าวได้ว่ารสชาติเป็นรสร่วมกันของ สตรอเบอร์รี่ และองุ่น (ผลมังคุดดูจะมีความขัดแย้งในตัวเอง คือ มีเนื้อสีขาว เปลือกหนาทึบ สีม่วง-น้ำตาล) สำหรับประเทศไทยมีการส่งออกมังคุดไปต่างประเทศทั้งในรูปผลสด และบรรจุกระป๋อง
มังคุดผลสดที่ส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น เป็นการส่งออกในลักษณะแช่แข็ง จะต้องมีการใช้มีดผ่าเปลือกตรงกลางผล เพื่อเปิดเปลือก ตรวจดูเนื้อภายในว่าไม่มีเนื้อแก้ว แล้วจะปิดเปลือกพันด้วยเทปกาวชนิดพิเศษ บรรจุกล่อง แช่แข็งภายใต้อุณหภูมิ -20 ํC
สำหรับมังคุดบรรจุกระป๋อง นั้นจะผ่าเปลือกเพื่อแกะเอาเนื้อมังคุด มีการบรรจุทั้งชนิดลูก-เต็ม และชนิดเป็นชิ้นๆ กระป๋องละ 8 ลูก หรือถ้าเป็นชิ้นจะบรรจุเนื้อมังคุดกระป๋อง ละ 280-340 กรัม จากนั้นเติมน้ำเชื่อมเข้มข้นประมาณ 18-22 % ผ่านขั้นตอนการไล่อากาศ ออก จนถึงการผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรคโดยเครื่องอบฆ่าเชื้อแล้วทำการบรรจุกล่อง และเก็บเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป ขณะนี้ ไม่มี การจำหน่ายในประเทศ จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกทั้งสิ้น
7. ลักษณะเด่นพิเศษ ผู้ชำนาญด้านไม้ผล จัดว่ามังคุดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี และอร่อยที่สุด ใบบรรดาไม้ผลเขตร้อนทั้งหมด มังคุดเป็นไม้ผลที่มีใบเขียวตลอดปี ใบค่อนข้างใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน และมีกิ่งที่แยกออกจากต้นตรงกันข้าม สลับกันเป็นชั้นๆ ทำให้มีทรงพุ่มที่สวยงาม เนื้อมีรสชาติที่อร่อย ซึ่งประกอบไปด้วย 4-8 กลีบ ฉ่ำน้ำคล้ายหิมะ และมีกลิ่นหอมที่นุ่มนวลมาก มีคุณค่าทางอาหาร เมื่อผู้ใดได้รับประทานแล้ว จะมีความรู้สึกพึงพอใจมาก ชาวยุโรปหรือประเทศในแถบหนาว ถือว่าเป็น Exotic fruit
8. ข้อจำกัด
เป็นไม้ผลที่มีอายุนานกว่าจะให้ผล (7-8 ปี) และต้องการพื้นที่ปลูกที่มีความชุ่มชื้น เป็นพิเศษ
เป็นไม้ผลที่มีอายุนานกว่าจะให้ผล (7-8 ปี) และต้องการพื้นที่ปลูกที่มีความชุ่มชื้น เป็นพิเศษ
แหล่งที่มาhttp://www.doa.go.th/hrc/chantaburi/index.php?option=com_content&view=article&id=55&Itemid=66

องุ่น
เชื่อกันว่าองุ่นหลากหลายพันธุ์ในปัจจุบันมีกำเนิดจากองุ่นป่าชนิดเดียวกันทั้งหมด คือ Vitis vinifera และมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอัฟกานิสถาน ต่อเนื่องไปยังตอนใต้ของทะเลดำ และทะเลสาบแคสเปียน การปลูกองุ่นเกิดขึ้นมานานกว่า 6 พันปีแล้ว และได้แพร่กระจายไปยังแถบเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปตะวันตก อินเดีย จีน และญี่ปุ่น และยังพบหลักฐานว่ามีการปลูกองุ่นในอียิปต์เมื่อกว่า 4,400 ปีมาแล้ว โคลัมบัสเป็นผู้นำองุ่นไปปลูกยังทวีปอเมริกา ต่อมาชาวสเปนและโปรตุเกสได้นำองุ่นไปแพร่หลายยังดินแดนอาณานิคมทั่วโลก
ผลองุ่น 100 กรัมมีน้ำตาล (กลูโคส ฟรักโทส และซูโครสเล็กน้อย) 15-25 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม นอกจากกินสดเป็นผลไม้แล้ว ยังนิยมนำผลองุ่นไปทำลูกเกด น้ำองุ่น (ดูน้ำผลไม้) แยมและเยลลี่ แต่ส่วนใหญ่ (68%) นำไปทำไวน์ เมล็ดองุ่นสามารถนำไปสกัดน้ำมันได้ เรียกว่า น้ำมันเมล็ดองุ่น (grape seed oil) ใช้เป็นส่วนผสมในโลชั่น (ดูครีมและโลชั่นบำรุงผิว) เพราะมีคุณสมบัติดีคือแผ่กระจายบนผิวหนังได้ง่าย ไม่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ ไม่เหม็นหืน และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้เปลือกผล (ดูผนังผล) ขององุ่นทำไวน์บางพันธุ์ยังใช้ทำสีได้เรียกว่า อีโนเซียนินา (enocianina) โดยนำเปลือกองุ่นหมัก (marc) ที่บีบน้ำออกแล้ว ไปสกัดสีด้วยสารละลายกรด
ชื่อไทย | องุ่น |
ชื่อสามัญ | Grape |
ชื่อพฤกษศาสตร์ | Vitis vinifera L. |
ชื่อวงศ์ | VITACEAE |
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ | อัฟกานิสถานตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อยมีมือจับ มีเนื้อไม้ แข็งแรง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปทรงกลม หรือรูปไข่แกมรูปทรงกลม ใบหยักเป็นพูรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ก้านใบยาว ช่อดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ซึ่งเกิดในตำแหน่งของมือจับ ดอกมีกลิ่นหอม สีเขียวปนเหลือง มีขนาดเล็ก กลีบมักหลุดร่วงในขณะที่ดอกบาน ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปรีถึงรูปทรงกลม สีม่วงแดงปนน้ำเงินเข้ม สีแดง เขียวหรือเหลือง ฉ่ำน้ำ รสหวานหรือเปรี้ยว เมล็ด 3-4 รูปผลแพร์
ผลิตผลและผลิตภัณฑ์
ผลใช้กินสดเป็นผลไม้ (ดูองุ่น) ทำลูกเกด น้ำองุ่น (ดูน้ำองุ่นพร้อมดื่ม) ไวน์ แยมและเยลลี่ น้ำมันเมล็ดองุ่นใช้ผสมโลชั่น (ดูครีมและโลชั่นบำรุงผิว) เปลือกผล (ผนังผล) ใช้ทำสี
ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์
ผล
แหล่งที่มา http://www.sc.mahidol.ac.th/wiki/doku.php?id=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น